วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

สมาชิก

1.นาย          เดชาธร     ศรีไชย                 เลขที่  2
2.นางสาว    จินต์ศุจี     ทองมาก              เลขที่  5
3.นางสาว    นิชนันท์     ถิ่นจะนะ              เลขที่  14
4.นางสาว    วันวิสาข์     เอี่ยมคง             เลขที่  16
5.นางสาว    รสริน    สุขเกษม                  เลขที่  21
6.นาย          สุเมษ    หมัด                        เลขที่  31
7.นางสาว    รัชชนก     คำทอง                เลขที่  35
8.นาย            สิงหนาท      สุภณชัย         เลขที่  39
9.นางสาว      ณัฐนรี      บุญศิริ                เลขที่  40
10.นางสาว     ศันสนีย์     คัณทะโณ       เลขที่   41
11.นางสาว    สุภิสรา      แซ่จุ                 เลขที่  42
12นาย            เมธา     คงเย็น                 เลขที่   43


ชั้นม.6/1
เสนอ
คุณครูประพจน์     จูเซ่งเจริญ
โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา

โซเดียมอะลูมิเนต (Sodium Aluminate)

โซเดียมอะลู มิเนต เป็นสารอนินทรีย์ที่สำคัญทางการค้า โดยใช้เป็นสารตั้งต้นที่มีประสิทธิภาพในการผลิตอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ สำหรับวงการอุตสาหกรรม และการประยุกต์ใช้งานในทางเทคนิค สารโซเดียมอะลูมิเนตบริสุทธิ์ (ที่ไม่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ) เป็นผลึกสีขาว มีสูตรโมเลกุลที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่NaAlO2 , Na2O.Al2O3 หรือ Na2Al2O4โซเดียมอะลู มิเนตถูกผลิตขึ้นจากการละลายอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ในสารละลายโซดาไฟ อะลูมิเนียมไตรไฮดรอกไซด์ (gibbsite) สามารถละลายได้ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีความเข้มข้น 20 – 25% ที่อุณหภูมิที่ใกล้กับจุดเดือดของสารละลาย การใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีความเข้นข้นสูง ๆ จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ชนิดกึ่งแข็ง กระบวนการผลิตนี้ต้องทำในภาชนะที่ให้ความร้อนด้วยไอน้ำ ทำจากนิเกิล หรือเหล็กกล้า และสารอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ควรถูกต้มในสารละลายของโซดาไฟความเข้มข้นประมาณ 50% จนกระทั่งเกิดเป็นเยื่อบาง ๆ ขึ้น ส่วนผสมนี้ต้องเทลงในภาชนะและทำให้เย็นตัวลง เพื่อเกิดเป็นของแข็งซึ่งเป็น NaAlO2 ประมาณ70% ภายหลังนำผลิตภัณฑ์ไปบด และอบแห้งด้วยเครื่องอบหมุนแบบให้ความร้อนทางตรง หรือทางอ้อมโดยการเผาไฮโดรเจน ผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ได้นี้ประกอบไปด้วย NaAlO2 90% น้ำ 1% และ โซดาไฟ 1%โซเดียมอะลู มิเนตมีการใช้กันในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น สำหรับการบำบัดน้ำ โดยใช้เป็นสารปรับน้ำให้อ่อน ใช้เป็นสารช่วยทำให้เกิดการรวมตัวของตะกอนเพื่อให้ตกตะกอนได้ง่าย และใช้แยกซิลิกาที่ละลายน้ำ ทางด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง โซเดียมอะลูมิเนตใช้เป็นตัวเร่งให้คอนกรีตเกิดการแข็งตัว ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทำงานสภาวะที่มีอากาศเย็นมาก ๆ นอกจากนั้นยังมีการใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ การผลิตอิฐทนไฟ การผลิตอะลูมินา และอื่น ๆ




อีพ็อกซีเรซิน (Epoxy Resins)

โซดาไฟเป็น สารเร่งปฏิกริยาในการผลิตอีพ็อกซีเรซิน ปฏิริยาของอีพิคลอไฮดริน (epichlorhydrin) เพื่อให้เกิดเป็นคลอไฮดรินนั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการผลิตอีพ็อกซีเรซิน ปฏิกริยานี้ถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นโดยโซดาไฟ ก่อนขั้นตอนสุดท้ายเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อีพ็อกซีเรซินเป็นสารเคลือบผิววัสดุ ที่ทนทานต่อสารเคมี ใช้ประโยชน์ด้านการปกป้องพื้นผิวชิ้นงาน

ภาพเคลื่อนไหว

โซเดียมซัลไฟต์ (Sodium Sulfite)


โซเดียมซัลไฟ ต์ และโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ ถูกผลิตขึ้นในทางอุตสาหกรรม โดยกระบวนการทำให้สารละลายซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นกลาง ด้วยโซดาไฟ หรือโซดาแอชเกลือโซเดียม ซัลไฟต์มีการใช้กันอย่างแพร่หลายใน สารเคมีที่ใช้สำหรับล้างฟิล์ม การบำบัดน้ำเสีย การผลิตเยื่อและกระดาษ อุตสาหกรรมหนัง และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ

                  

โพลิคาร์บอเนต (Polycarbonate)

โพลิ คาร์บอเนตเป็นเทอร์โมพลาสติกโพลิเมอร์ (Thermoplastic Polymer) ที่มีความโปร่งแสง ซึ่งใช้เป็นสารประกอบสำหรับงานขึ้นรูปเป็นหลัก ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ แผ่นซีดีรอม ขวดบรรจุสำหรับเด็กอ่อน
ความสำเร็จในเชิงการค้าของโพลิคาร์บอเนต(Lexan ® , Makrolon ®) เนื่องมาจากการรวมคุณสมบัติในด้านต่างๆเอาไว้ด้วยกัน ได้แก่ ความเหนียวที่ดีเยี่ยม ความโปร่งแสง การเข้ากันได้ดีกับโพลิเมอร์ชนิดอื่น ๆ และ ความคงทนต่อการเสียรูปจากความร้อน
กระบวนการผลิตโพลิคาร์บอเนต สามารถแยกได้เป็นสองขั้นตอน :
  • ขั้นตอนการผลิตฟอสจีน (Phoshene) (COCl2) จากคลอรีน (Cl2) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ตามปฏิกริยาดังต่อไปนี้ :
    CO + Cl2 ® COCl2
  • ปฏิกริยาระหว่างฟอสจีน และบิสพีนอล-เอ (Bisphenol-A) ในสารละลายของเมทธิลีนคลอไรด์ (Methylene Chloride) :
    Cl-CO-Cl + HO-C6H4-C(CH3)2-C6H4-OH ® HO-C6H4-C(CH3)2-C6H4-O-CO-]80 till 100 + 2 HCl
โซดาไฟใน ปริมาณมากถูกเติมระหว่างปฏิกริยาที่สอง เพื่อทำให้เกิดบิสฟีนอลเลท และเพื่อเร่งปฏิกริยาโดยทำให้กรดเกลือ (Hydrochloric Acid) ที่เกิดจากปฏิกริยามีสภาพเป็นกลาง
โพลิ คาร์บอเนตที่ผลิตจากกระบวนการนี้ถูกทำให้ตกตะกอนในรูปเป็นของแข็ง หลังจากผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ การเหวี่ยงแยกเพื่อแยกตะกอนออกจากสารละลาย และตามด้วยการอบแห้ง จนเกิดเป็นผงโพลิคาร์บอเนต



อุตสาหกรรมเคมีในระดับโลก

         ในช่วง


50ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมเคมีมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ที่เร็วที่สุดเป็นอินทรีย์สังเคราะห์ของการผลิตเม็ดพลาสติกที่ใช้พลาสติก ,เส้นใย และ elastomers . ในอดีตและปัจจุบันอุตสาหกรรมเคมีกระจุกตัวอยู่ในสามส่วนของโลกประชาคมยุโรปเป็นพื้นที่ผลิตที่ใหญ่ที่สุดตามด้วยสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น บริษัทผู้ผลิตที่ใหญ่และมีโรงงานในหลายประเทศทั่วโลกเช่น BASF , Dow , Degussa , Shell , ไบเออร์, INEOS , เอ็กซอนโมบิล , ดูปองท์, SABIC , Braskemและ มิตซูบิชิ