โซดาไฟใช้ในการผลิตเป็นซีโอไลท์
ซีโอไลท์มี โครงสร้างเป็นผลึกของไฮเดรต อะลูมิโนซิลิเกต (Hydrated Aluminosilicates) เป็นโครงข่ายโพลิแอนไอโอนิค (Polyanionic Network) สามมิติของ SiO2 และ Al2O3 ซึ่งมีการเชื่อมโยงแบบเตตราฮีดคอล (Tetrahedral) กับอะตอมของออกซิเจน ภายในช่องว่างของโครงร่างผลึกนี้ประกอบไปด้วยน้ำ และประจุบวก เพื่อให้เกิดสมดุลย์กับประจุลบที่อยู่บนโครงร่าง ซึ่งประจุบวกเหล่านี้คือ โลหะอัลคาไลน์ (Alkali Metal) หรืออัลคาไลน์เอิร์ธ (Alkali Earth) ที่สามารถถูกแทนที่ได้ ก่อให้เกิดคุณสมบัติหลักของซีโอไลท์ คือ ความสามารถในการจับประจุบวกเข้ามารวมตัว
กระบวนการ ผลิตนี้เกิดขึ้นจากปฏิกริยาไฮโดรเทอร์มอล (Hydrothermal Reaction) ของโซเดียมอะลูมิเนท (Sodium Aluminate) โซเดียมซิลิเกต (Sodium Silicate) และโซดาไฟ ในสารละลายน้ำภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง ความเป็นด่างแก่มีความจำเป็นในการสร้างโครงผลึกระหว่างซิลิกา และประจุอะลูมิเนียมในสารประกอบออกซิเจน โซดาไฟจึงถูกใช้ในการสังเคราะห์นี้ ซีโอไลท์ที่ประกอบด้วยซิลิกาในปริมาณสูงถูกสังเคราะห์ที่อุณหภูมิ และความดันสูง ในขณะที่ซีโอไลท์ที่มีซิลิกาในปริมาณต่ำมักก่อตัวเป็นผลึกที่อุณหภูมิ 70-100 o C ด้วย pH ระหว่าง 10-14 ในสารละลายโซดาไฟ ปริมาณอัตราส่วนที่แตกต่างระหว่างซิลิกา และอะลูมิเนียม ก่อให้เกิดซีโอไลท์ชนิดต่างๆ
เนื่องจาก ความสามารถในการรวมประจุบวกที่สูง ซีโอไลท์จึงใช้เป็นส่วนประกอบของผงซักฟอก โดยเป็นตัวดูดซับ เพื่อแยกสิ่งสกปรก และทำให้วัสดุสะอาด เป็นตัวเร่งปฏิกริยาในกระบวนการที่สำคัญๆหลายกระบวนการในอุตสาหกรรมเคมี และปิโตรเคมี และยังใช้ในงานอีกมากมายที่ต้องใช้ความสามารถในการดึงประจุบวก